คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เปิดรับสมัครผู้สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรภาคปกติ ปีละ
1 ครั้ง และภาคนอกเวลาราชการปีละ 1 ครั้ง
คุณสมบัติของผู้สมัคร มีดังต่อไปนี้
- แผน ก และ แผน ข สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่ง และคุณสมบัติอื่นเป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศเป็นให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาเห็นสมควรให้มีสิทธิเข้าศึกษา
- ได้คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CUTEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือคะแนน TOEFL ตั้งแต่
450 ขึ้นไป หรือ คะแนน IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป
- ได้คะแนนทดสอบความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
- มีผลคะแนนสอบความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST)
- รายละเอียดการรับสมัครติดตามได้ที่เว็บไซต์หลักสูตรฯ (
https://it.cbs.chula.ac.th )
- ภาคนอกเวลาราชการต้องมีประสบการณ์ทำงานหลังจบปริญญาตรีอย่างน้อย 2 ปี
- ภาคปกติต้องมีประสบการณ์ทำงานหลังจบปริญญาตรีอย่างน้อย 2 ปี (ยกเว้นแผน ก)
หลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่
- ใบสมัครเข้าศึกษา (Application Form) พร้อมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ถ้ามี) 1 ฉบับ
- สำเนาใบรับรองผลการศึกษาในระดับปริญญาตรี (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ
- สำเนาผลสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP หรือ TOEFL) 1 ฉบับ (อายุไม่เกิน 2 ปี)
- สำเนาผลสอบความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST) ภาษาไทย 1 ฉบับ (อายุไม่เกิน 2 ปี)
- หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน 1 ฉบับ
- สำหรับหลักสูตรภาคปกติ ผู้สอบผ่านข้อเขียนจะมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์จะต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- หนังสือรับรองซึ่งออกโดยหน่วยงาน ว่ามีประสบการณ์ทำงานหลังจบปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า
1 ปี (ยกเว้นแผน ก)
- สำหรับหลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ ผู้สอบผ่านข้อเขียนจะมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์จะต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- หนังสือรับรองซึ่งออกโดยหน่วยงานว่ามีประสบการณ์ทำงานหลังจบปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 2 ปี
- หนังสือรับรอง (Letter of Recommendation) 2 ฉบับ ซึ่งต้องรับรองโดยผู้บังคับบัญชาอย่างน้อย 1 ฉบับ (ใช้แบบฟอร์มของหลักสูตร)
รายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัคร
กำหนดการ |
ภาคปกติ |
ภาคนอกเวลาราชการ |
รับใบสมัคร |
|
|
ยื่นใบสมัคร |
กุมภาพันธ์-มีนาคม |
มิถุนายน-กรกฎาคม |
สอบข้อเขียนวิชาความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ปลายเดือนเมษายน |
ปลายเดือนสิงหาคม |
ประกาศผลสอบข้อเขียน |
ต้นเดือนพฤษภาคม |
ต้นเดือนกันยายน |
สอบสัมภาษณ์ |
กลางเดือนพฤษภาคม |
กลางเดือนกันยายน |
ประกาศผลสอบสัมภาษณ์ |
ปลายเดือนพฤษภาคม |
ต้นเดือนตุลาคม |
เรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐาน |
กลางเดือนมิถุนายน-ปลายเดือน
กรกฎาคม |
ต้นเดือนตุลาคม-ปลายเดือน
พฤศจิกายน |
เปิดเรียน |
ต้นเดือนสิงหาคม (ภาคการศึกษาต้น) |
ต้นเดือนมกราคม (ภาคการศึกษาปลาย) |
สถานที่รับสมัคร |
|
สำนักงานห้อง 605 ชั้น 6
อาคารอนุสรณ์ 50 ปี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://it.cbs.chula.ac.th
โทร. 02-218-5715-6 |
การสอบคัดเลือก
การสอบคัดเลือกประกอบด้วย การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนจึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วิชาที่สอบในการสอบข้อเขียนมี 3 วิชา คือ
- ภาษาอังกฤษ (CU-TEP) จัดสอบโดยศูนย์ทดสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัครด้วยตนเองที่
https://www.atc.chula.ac.th โทร. 02-218-3703-6
- ความถนัดทางธุรกิจ (CU-BEST) จัดสอบโดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัครด้วยตนเองที่
https://mba.cbs.chula.ac.th/
โทร. 02-218-5717-8
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรฯ จัดสอบให้
อนึ่ง ผลสอบ CU-TEP และ CU-BEST สามารถเก็บไว้สมัครสอบคัดเลือกได้
ภายในระยะเวลา 2 ปี โดยนับตั้งแต่วันรายงานผลคะแนนทดสอบถึงวันประกาศผลสอบสัมภาษณ์
จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ
หลักสูตรรับนิสิตประมาณ 60 คน ต่อภาคปกติ (ในเวลาราชการ) และนอกเวลาราชการ
การเรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐาน
ผู้ผ่านสอบสัมภาษณ์ต้องเรียนวิชาเสริมความรู้พื้นฐานในด้านซึ่งไม่มีพื้นฐานความรู้มาก่อน ซึ่งคณะกรรมการสอบจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
เพื่อให้แต่ละคนได้รับการเสริมพื้นฐานตามเหมาะสม และเมื่อสอบผ่านวิชาเสริมความรู้พื้นฐานแล้ว หลักสูตรจึงรับเข้าเป็นนิสิต
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
หลักสูตรภาคปกติ
ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ 24,500 บาทและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประกาศของมหาวิทยาลัย
หลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ
- ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ 24,500 บาท ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ 50,000 บาท (รวมค่าหนังสือ เอกสารประกอบการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย ค่าอาหาร และค่าสัมมนาในและต่างประเทศ)
|